สีปัสสาวะบอกโรค
ปฏิกิริยา หรืออาการต่างๆ ที่ร่างกายแสดงออก เป็นเสมือนสัญญาณเตือนให้รู้ว่า ร่างกายกำลังเผชิญอยู่กับสิ่งผิดปกติอะไรสักอย่าง ฉะนั้นการสังเกตตัวเองอยู่เสมอก็เป็นวิธีการดูแลสุขภาพที่พึงกระทำ เพราะหากพบความผิดปกติใดๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ก็จะได้รับมือหรือแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที อะไรที่จะหนักก็จะได้บรรเทาเบาบางลง
สีของปัสสาวะก็อาจบอกให้รู้คร่าวๆ ได้ว่าร่างกายของปกติดีอยู่หรือไม่ ลองมาตรวจร่างกายตัวเองกันหน่อยดีไหม…เอาแบบง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก แค่ลองสังเกตสีปัสสาวะของตัวเองดู
ปัสสาวะออกมาเป็นสีอมแดง
หากปัสสาวะออก มาเป็นสีนี้ต้องลองนึกให้ออกว่าได้รับ ประทานอาหารอะไรที่เป็นสีทำนองนี้หรือเปล่า เช่น แบล็คเบอร์รี่หรือผักกาดม่วง แต่ถ้าแน่ใจว่าไม่ได้กินอะไรใกล้เคียงกับสีแดงเลย ก็อาจเป็นลางร้าย เพราะสีแดงนั้น อาจจะเป็นเลือดที่ขับออกมาจากไตหรือกระเพาะปัสสาวะอาจอักเสบ หรือไม่ก็อาจจะมีอะไรในร่างกายที่ฉีกขาดเป็นแน่ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน
ปัสสาวะเป็นสีน้ำตาล
มอง ได้ 2 อย่างคือ อาจจะเกิดจากการรับประทานถั่วในปริมาณที่มาก หรือว่าอาจจะเป็นลิ่มเลือดที่ปนออกมาก็ได้ ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ดีกว่า
ปัสสาวะออกเป็นสีเหลือง
ถ้าปัสสาวะออกเป็นสีเหลืองอ่อน เป็นไปได้ว่าวันนั้นร่างกายจะได้รับวิตามินบี 2 มากเกินความต้องการจนต้องขับออกมา แต่ถ้าเป็นสีเหลืองเข้มก็หมายความว่า คุณดื่มน้ำน้อยเกินไปแล้ว แต่ถ้ามั่นใจว่าดื่มน้ำเยอะแล้วแต่ทำไมปัสสาวะยังเป็นสีเหลืองเข้มอยู่เหมือนเดิม ก็คงต้องรีบปรึกษาแพทย์เพราะอาจมีโรคไตแฝงมาแล้วก็ได้
ปัสสาวะมีสีขุ่น
ในผู้ที่ปัสสาวะสีขุ่นให้ลองดื่มน้ำส้มดูว่าหายหรือไม่ ถ้าไม่หาย อาจเนื่องมาจากติดเชื้อบางอย่างก็ได้ อาการอย่างนี้ควรปรึกษาแพทย์
ปัสสาวะมีสีส้ม
อาจเป็นผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาโพรีเดียมที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ปัสสาวะเป็นสีน้ำเงิน
ถ้าปัสสาวะมี สีอย่างนี้ ไม่ต้องแปลกใจ โดยเฉพาะหากคุณทานยาแก้อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เพราะในยามีส่วนผสมของสารเมธีลีน และขับออกมาทางปัสสาวะ ปัสสาวะจึงมีสีออกฟ้าๆ
เข้า ห้องน้ำคราวนี้ อย่าลืมสังเกตดูสีปัสสาวะ เรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้ไม่ควรมองข้าม สังเกตตัวเองนิดๆ หน่อยๆ ก็เป็นผลดีกับสุขภาพร่างกายปัสสาวะ เป็นสิ่งที่ขับถ่ายออกมาจากร่างกาย โดยไตจะกรองเอาของเสียและสิ่งที่มากเกินพอออกจากเลือด และขับออกมาเป็นปัสสาวะ ถ้าไตไม่ทำงาน จะมีของเสียคั่งในเลือด ทำให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน สะอึก หอบเหนื่อย บวม เป็นต้น
ปัสสาวะเป็นสิ่งที่ช่วยบ่งบอกโรคได้หลายชนิด เช่น โรคไต โรคเบาหวาน โรคตับ โรคกระเพาะ ปัสสาวะอักเสบ โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
การสังเกตปัสสาวะของตนเอง โดยดูจาก จำนวน สี ความขุ่น และกลิ่นของปัสสาวะ ก็จะทำให้ทราบถึงความผิดปกติหลาย ๆ อย่างของร่างกายได้เช่น
จำนวนของปัสสาวะ
คนปกติจะถ่ายปัสสาวะวันละ 3 ถึง 5 ครั้ง ควรถ่ายปัสสาวะส่วนใหญ่ในเวลากลางวัน ตั้งแต่ ตื่นนอนเช้าถึงก่อนเข้านอน ส่วนกลางคืนหลังเข้านอนแล้วไม่ควรถ่ายปัสสาวะอีกจนถึงเช้า นอกจากจะดื่มน้ำมากหรือในเด็กเล็ก หรือคิดมาก นอนไม่หลับ อาจถ่ายปัสสาวะในเวลากลางคืนได้อีก
การ ถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ อาจเป็นเพราะ ความวิตกกังวลซึ่งกระตุ้นให้อยากถ่ายปัสสาวะอยู่เรื่อย ๆ โดยไม่ได้เป็นโรคไต หรือโรคของทางเดินปัสสาวะก็ได้
ถ้าปัสสาวะบ่อยเป็นประจำกะปริบกะปรอย อาจเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเฉียบพลัน หรือเป็นโรคไตพิการเรื้อรัง
ปกติเด็กอายุ 1 ถึง 6 ขวบ จะถ่ายปัสสาวะวันหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามส่วนของหนึ่งลิตร (ประมาณ 1 แก้วครึ่ง) และไม่ควรมากกว่าหนึ่งลิตร
เด็กอายุ 6 ถึง 12 ขวบ ควรถ่ายปัสสาวะวันหนึ่งไม่น้อยกว่าครึ่งลิตรและไม่ควรเกินสองลิตร
ผู้ใหญ่ควรถ่ายปัสสาวะวันละเกือบลิตร และไม่ควรเกินสองลิตร
ถ้าถ่ายปัสสาวะน้อยไปส่วนใหญ่เกิดจาการดื่มน้ำน้อย หรือเกิดจากการเสียน้ำทางอื่นเช่น เหงื่อออกมาก ท้องเดินท้องร่วง อาเจียนมาก เป็นต้น ส่วนน้อยเกิดจากโรคไต โรคหัวใจ และอื่น ๆ
ถ้าถ่ายปัสสาวะมากไปส่วนใหญ่มักเกิดจากาการดื่มน้ำมาก หรือพบในโรคเบาหวาน เบาจืด โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคไตพิการเรื้อรังบางระยะ การกินยาขับปัสสาวะ เป็นต้น
บางครั้งพบว่าไม่มีปัสสาวะเลยหรือทั้งวันถ่ายปัสสาวะได้น้อยกว่า 1 ใน 10 ส่วนของลิตร (น้อยกว่า 1 ถ้วยแก้ว) ซึ่งอาจเกิดจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ, โรคเป็นพิษเนื่องจากปรอท, โรคไตอักเสบอย่างรุนแรง, ภาวะช็อค (เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่พอ) เป็นต้น
สำหรับ อาการผิดปกติในการขับปัสสาวะ เช่น ปวดท้องน้อยในขณะถ่ายปัสสาวะ แสบที่ช่องถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะแล้วรู้สึกไม่สุดอยากจะถ่ายอีกทั้ง ๆที่ไม่มีปัสสาวะ ปัสสาวะขัด อาจมีการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
⇒ ความขุ่นของปัสสาวะ
ปัสสาวะที่ถ่ายใหม่ ๆจะใส ถ้าตั้งทิ้งไว้จะขุ่นได้ เนื่องจากปัสสาวะเป็นอาหารที่ดีสำหรับแบคทีเรีย แบคทีเรียจึงเจริญเติบโตขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้นมากมายอย่างรวดเร็ว ทำให้ปัสสาวะขุ่นได้
สาเหตุความขุ่นอีกอย่างหนึ่งคือแบคทีเรียจะเปลี่ยน ยูเรียในปัสสาวะให้เป็นแอมโมเนีย แอมโมเนียจะทำให้ปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นด่าง ด่างก็จะช่วยตกตะกอนของสารบางอย่าง เช่น พวกฟอสเฟท ยูเรท ทำให้ปัสสาวะขุ่นได้ เช่นเดียวกัน ถ้าปัสสาวะที่ถ่ายใหม่ขุ่น เช่น ขุ่นและมีสีแดง ปัสสาวะอาจมีเลือดปนปัสสาวะขุ่นคล้ายนมอาจเกิดจากหนองหรือไขมัน
บาง ครั้งความขุ่นของปัสสาวะเกิดจากอาหารและยา ซึ่งเป็นสาเหตุของการตกตะกอนของสารบางชนิดได้เช่นเดียวกัน เช่น ยาซัลฟา กินแล้วไม่ได้ดื่มน้ำมาก ๆ อาจจะตกตะกอนเป็นผงหรือผลึก ทำให้ปัสสาวะขุ่น ถ้าอาการปวดท้อง ปวดดื้อ จนถึงปวดรุนแรงเป็นพัก ๆ จนบิด ปัสสาวะน้อยและขุ่น จำทำให้นึกถึงโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
⇒ กลิ่นของปัสสาวะ
ปกติปัสสาวะเมื่อถ่ายออกมาสด ๆ จะมีกลิ่นหอมกำยาน และถ้าตั้งทิ้งไว้ค้างคืน จะมีกลิ่นแอมโมเนีย อาหารและยาทำให้กลิ่นปัสสาวะเปลี่ยนแปลงได้ เช่น สะตอ สตือ ทำให้ปัสสาวะมีกลิ่นฉุน
กลิ่นปัสสาวะใหม่ ๆสด ๆ บางกลิ่นสามารถเดาได้ว่าเป็นปัสสาวะของโรคอะไร เช่น
กลิ่นน้ำนมแมวมักจะพบในปัสสาวะของคนที่เป็นเบาหวานที่เป็นมากและไม่ได้รักษา
กลิ่นเหม็นเน่าเกิดจากการติดเชื้อมักจะพบปัสสาวะขุ่นเป็นหนองด้วย
กลิ่นแอมโมเนียของปัสสาวะใหม่สด แสดงถึงการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
⇒ถ้าปัสสาวะผิดปกติจะเก็บไปตรวจทำอย่างไร
1.ก่อน ที่จะเก็บปัสสาวะ ควรจะต้องทราบเสียก่อนว่า จะเก็บเพื่อตรวจหาอะไร เช่น ต้องการดูสีควรงดอาหารและยาที่ทำให้เกิดสีก่อนสักวันสองวัน เป็นต้น
2.ก่อน ถ่ายปัสสาวะเพื่อเก็บตรวจ ควรล้างปากช่องอวัยวะที่จะถ่ายให้สะอาด หรือจะใช้สำลีชุบน้ำเช็ค ถ้าเป็นหญิงต้องเช็ดจากหน้าไปหลังเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากช่องคลอดหรือ ทวารหนัก
3.ควรเก็บปัสสาวะครั้งแรกที่ตื่นนอนเช้า ก่อนกินอาหารหรือน้ำใด ๆ เพราะมีความเข้มข้นมากที่สุด
4.ควร เก็บปัสสาวะระยะกลาง ๆ ของการถ่ายมาดู ระยะนี้ปัสสาวะออกมาจากกระเพาะปัสสาวะ ส่วนระยะเริ่มแรกถ่ายกับตอนสุดท้ายที่ขมิบ ควรจะใช้ภาชนะแยกอีกใบหนึ่งหรือสองใบรองไว้ สังเกตการขุ่น ซึ่งอาจจะปนเปื้อนมาจากช่องคลอด ไม่ได้เกิดจากความขุ่นของปัสสาวะก็ได้
5.ควรส่งตรวจทันทีเมื่อถ่ายใหม่ ๆ ภายใน 3 ชั่วโมง
มาหนีห่างจากโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะกัน
1.อย่า กลั้นปัสสาวะเมื่อเวลาปวด ถ้ากลั้นบ่อย ๆ จะทำให้เกิดการอักเสบในกระเพาะปัสสาวะและถ้ากลั้นต่อไปอาจทำให้เกิดการ อักเสบถึงกรวยไตและในที่สุดถึงไตได้
2.การ กินยาที่อาจเป็นพิษต่อไต ต้องรู้วิธีแก้ไข เช่น ยาซัลฟา ถ้ากินยานี้แล้วดื่มน้ำน้อยไป จะทำให้ยานี้ตกตะกอนในไต หรือในส่วนต่าง ๆ ของทางเดินปัสสาวะได้ เมื่อจะกินยาเหล่านี้ ต้องดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อละลายยาไม่ให้ตกตะกอน แต่ถ้าผู้ป่วยโรคไตที่มีปัสสาวะน้อยและห้ามดื่มน้ำมาก ก็ไม่ควรใช้ยานี้
3.หญิง ที่ใช้กระดาษเช็ดเมื่อปัสสาวะเสร็จ อย่าเช็ดช่องถ่ายปัสสาวะด้วยกระดาษที่ไม่สะอาด และต้องเช็ดจากหน้าไปหลัง มิฉะนั้นอาจจะติดเชื้อแบคทีเรียจากช่องคลอดหรือทวารหนักได้
4.อย่ากินอาหารเค็มจัดเสมอ ๆ
5.พยายามทำความสะอาดบริเวณขับถ่ายปัสสาวะอยู่เสมอ (โดยใช้น้ำสะอาดทั่วไป) ถ้าปล่อยให้สกปรกแล้ว อาจมีเชื้อโรคเข้าไปทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และอาจลุกลามไปถึงไตได้.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น